“เด็กคืออนาคตของชาติ” ประโยคนี้อาจจะเป็นถ้อยคำที่อยู่ในส่วนหนึ่งของ
ระบบความทรงจำที่เรารับรู้มาอยู่เสมอ แต่หากใครสักคนหนึ่งจะบอกว่า “เด็กคือผ้าสี ขาว” ก็คงไม่แตกต่างอะไรกันนัก ถ้าผ้าสีขาวเหล่านั้นได้รับการแต่งแต้มสีสันอย่างสวยงามเพื่อ เติบใหญ่เป็นอนาคตของชาติอย่างประโยคเกริ่นนำข้างต้นที่สวนทางกับจังหวะของสังคมที่เลวร้าย ลงทุกวันและไม่เหลือพื้นที่เว้นว่างให้เด็กๆได้มีสิทธิในการเรียกร้องอนาคตของพวกเขาได้ตาม ความต้องการ ท่ามกลางความห่างไกลของความเจริญและอากาศที่เหน็บหนาวของสายหมอก ในหุบเขาของอ.สังขละบุรี จากถนนทางหลวงหมายเลข323 จนมาถึงสามแยกวัดวังก์วิเวการาม
เลี้ยวขวาไปอีก14กิโลเมตร ยังคงมีบ้านเล็กๆหลังหนึ่งที่สร้างขึ้นประมาณ 7-8 หลังบนเนื้อที่เพียงไม่กี่ไร่ ที่ประกอบไปด้วยพ่อ แม่และลูกๆอีก33คน อาศัยอยู่ร่วมกันท่ามกลางความเหน็บหนาว
ของสายหมอกจากหุบเขาในบ้านที่ชื่อว่า”บ้านทอฝัน”
จากการถามสอบถามเส้นทางจากชาวบ้านละแวกนั้น ไม่นานนักเราก็มาถึงยังบ้านทอฝัน
ที่ตั้งตัวอยู่ท่ามกลางความงดงามของธรรมชาติ เราได้ยินเสียงของเด็กๆ4-5คนที่วิ่งมาหาเราทันที
ที่รถจอดบอกกับเรา พลางยกมือไหว้เมื่อเราบอกถึงจุดประสงค์ของการมาในครั้งนี้ว่า
“พ่อไม่อยู่ครับ พ่อไปกรุงเทพ” ก็เล่นทำเอาเราอึ้งๆไปตามๆกันเพราะก่อนจะมาเราก็
ไม่ได้ติดต่อที่นี่ไว้ เพราะเงื่อนไขของพื้นที่ตั้งของบ้านทอฝันที่หลบหนีความเจริญ การสื่อสารจึง
คล้ายกับหมดความหมายไปโดยปริยาย แต่เมื่อเสียงของเด็กคนหนึ่งบอกว่า“แต่ถ้าเป็นแม่ต้องรอ
สักครู่เพราะแม่พาพี่บัวไปโรงพยาบาลในตัวเมืองครับ” จึงทำให้อาการอึ้งๆของเราคลายลงไปได้
เยอะและเปลี่ยนเป็นรอยยิ้มขึ้นมาทันที่
หลังจากเด็กๆเดินจากไป เราเลือกที่จะฆ่าเวลาของการรอคอยพี่ยุพาด้วยการเดินสำรวจ
พื้นที่ของบ้านทอฝัน ที่มีบ้านหลังเล็กหลังน้อย7-8หลังสร้างอยู่อย่างงดงามด้วยอิฐสีแดงสดบวก
กับเฟอร์นิเจอไม้บางส่วน รวมไปถึงเด็กๆที่วิ่งเล่นอยู่อย่างสนุกสนาน ชาวญี่ปุ่น3-4คนที่นั่งอยู่ใน
เรือนผ้ามัดย้อม ยิ้มให้กับเราอย่างเป็นกันเองและบอกกับเราว่า
“ยุพาซังไปข้างนอกเดี๋ยวก็กลับมา”
ไม่นานนักรถกระบะคันสีขาวที่ข้างๆเขียนไว้ว่า มอบให้บ้านทอฝันก็วิ่งเข้ามาจอดใกล้ๆกับ
ที่เรานั่งพักอยู่ เด็ก2คนวิ่งลงมาจากรถเพื่อเข้าไปเล่นกับเพื่อนๆ โดยปล่อยให้ผู้หญิงตัวเล็กๆคน
หนึ่ง เดินยิ้มตาหยีเข้ามาหาพวกเราแทน
หลังจากทักทายและบอกถึงจุดประสงค์ในการมาของเราให้พี่ยุพาทราบแล้ว การสนทนา
อย่างเป็นกันเองบนพื้นที่ของรอยยิ้มจึงเริ่มขึ้นอย่างง่ายๆ พี่ยุพาบอกกับเราว่า บ้านทอฝันมีพี่ยุพา
(ยุพา คงสุข)กับพี่นาท(กัมปนาท บัวฮมบุรา) เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของที่นี่หรือ”พ่อกับแม่”ของเด็กๆ
อีก33คน ที่อยู่ในบ้านทอฝัน ปีนี้บ้านทอฝันมีอายุ11แล้ว พี่นาทเป็นคนจัดตั้ง บ้านทอฝัน
เป็นบ้านที่ดูแลเด็กด้อยโอกาส มีทั้งเด็กที่ครอบครัวยากจนและแตกแยกรวมทั้งเด็กที่ไม่มีอะไร
นอกจากตัวและหัวใจ พี่ยุบอกกับเราว่า
บ้านหลังแรกของบ้านทอฝันจะเป็นรูปตัว L แต่ว่าตอนที่เข้ามาจริงๆมันเป็นคล้ายๆ
กระต๊อบขึ้นไป 4 เสา แล้วก็เอียงไปครึ่งหนึ่ง เริ่มมาจากไม่มีอะไรเลย แล้วก็เริ่มสร้างมาตอนแรกๆ
ทำเป็นบ้านไม้แต่ว่าไม่เข้าท่า เพราะว่าที่สังขละมันเป็นหน้าฝนๆ อากาศมันจะชุ่มยกเว้นปีนี้ฝน
น้อยมากเพราะฝนไม่ตก ทุกปีน้ำจะเยอะตอนแรกๆจะมีบ้านไม้ เมื่อก่อนจะมีเด็กเล็กๆประมาณ
4-5 ขวบเล่นไฟ จุดไฟหิ้งพระ ไฟก็ลุกไหม้หลังคาก็เลยลื้อตรงนั้นออกไปครึ่งหนึ่งก็เหลือครึ่งหลัง
จริงๆมันก็ยากในการอยู่กับเด็ก เรื่องใช้พวกเทียน ตะเกียง บ้านมันเป็นไม้ ทั้งป่ามันก็เป็น
ไม้ไผ่ ไผ่ตั๋งเป็นไม้ติดไฟง่ายมาก พี่กลัวมากเรื่องไฟ เพราะว่าอยู่ที่นี่มาไฟไหม้ 3ครั้ง ที่ชัดๆ ทุก
วันนี้ก็เลยสร้างบ้านจากอิฐมากกว่าอย่างที่เห็น
“อย่างเด็กๆที่เข้ามาอยู่ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่แนะนำเข้ามา เป็นปากต่อปากมากกว่า
เพราะเขารู้ว่าเราดูแลเด็กทางด้านนี้ อย่างสมมุติน้องเข้ามารู้ว่าเราทำลักษณะอย่างนี้ น้องก็อาจจะ
บอกว่าเด็กแถวๆบ้านดูแล้วแย่ อยากจะฝากให้เราเลี้ยงดูก็เอามาฝากได้” เราจึงได้ถามพี่ยุถึงเรื่อง
ค่าใช้จ่ายของเด็กในการให้บ้านทอฝันเลี้ยงดู
“มาอยู่ฟรีค่ะ เพราะว่าค่าใช่จ่ายทุกอย่างเราจะหาเข้ามาจุนเจือ เราไม่ได้เปิดกล่องขอ
บริจาคส่วนใหญ่เราจะทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจำหน่ายกัน แล้วก็ทำอิฐดินซีเมนต์ขายกัน”พี่ยุ
บอกกับเราพลางยิ้มตาหยี
เพียงจำนวนของพ่อและแม่2คนกับการเลี้ยงดูลูกๆอีก33คน จึงไม่ใช่เรื่อง่ายดายนักที่จะ
ดูแลได้อย่างทั่วถึงแต่พี่ยุและพี่นาทก็มีวิธีเลี้ยงลูกของพวกเขาที่น่าสนใจเลยทีเดียว
"จะเน้นเป็นแบบครอบครัวซะส่วนใหญ่ เหมือนพ่อแม่ดูแลลูก เหมือนกับว่าบ้านทอ
ฝันเป็นครอบครัวใหญ่มีลูกหลายคนเท่านั้นเอง ที่มีอยู่ตอนนี้อายุเล็กสุด 5ขวบ แต่ที่เคยดูแลมา
เล็กสุด 4เดือนตอนนี้ก็เข้าป.1แล้ว”
สำหรับโอกาสทางการศึกษาของเด็กๆนั้น พี่ยุยังคงยิ้มตาหยีแล้วบอกกับเราว่า
“พี่กับพี่นาทก็ให้เขาไปโรงเรียนเหมือนกับเด็กๆคนอื่นๆในหมู่บ้าน ที่ส่งเรียนจนจบก็มีแล้ว
บางคนก็ไปอยู่ต่างประเทศอย่างตอนนี้มีไปอยู่อเมริกาคนนึง
เราถามพี่ยุถึงระบบการศึกษาทางเลือกที่บ้านทอฝันถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆพี่ยุก็บอกกับเราว่า
“จริงๆแล้วเราเน้นทุกด้าน เราจะมาเน้นแบบทางเลือกซะทีเดียวก็ไม่ได้ เพราะว่าสังคมยังไม่เปิด
กว้างซะขนาดนั้น ความคิดของเราจะเป็นความคิดแบบทางเลือกมากกว่า เพราะว่าเราจะไม่ได้พึ่ง
ทางนอกซะเท่าไหร่จะพยายามพึ่งตัวเองซะมากกว่า แล้วเด็กที่นี่ก็ได้รับการศึกษาแบบค่อนข้าง
สมบูรณ์เหมือนเด็กข้างนอกทั่วๆไป คือส่งเรียนก็ให้เรียนหมดทุกคน
ส่วนเรื่องภาษาเรามีอีไลที่เป็นอาสาสมัครจากอเมริกามาเป็นผู้ช่วย เขาจะช่วยสอน
ภาษาอังกฤษ อย่างน้องๆญี่ปุ่นมาเขาก็สอนภาษาญี่ปุ่น บางช่วงก็มีเกาหลี เดือนหน้าก็จะมีรัสเซีย
ค่อนข้างจะหลากหลายค่ะ เราไม้ได้ปิดกั้นว่าคุณต้องเอาภาษาอังกฤษอย่างเดียวหรือภาษาไทย
อย่างเดียว เพราะเด็กที่นี่บางคนก็มาจากครอบครัวมอญ ครอบครัวกระเหรี่ยง ครอบครัวพม่า
วันว่างหรือเวลาที่กลับมาจากโรงเรียนของเด็กๆ รวมไปทั้งทั้งเด็กๆตัวเล็กตัวน้อยที่อายุยัง
ไม่ถึงเกณฑ์ พี่ยุก็จะมีกิจกรรมมาให้เด็กๆทำอยู่เสมอ
“พี่จะเน้นความอยู่รอดหมายถึงอาชีพและทักษะต่างๆ ถ้าทำการเกษตรเราจะมีแปลงผัก
ซึ่งอยู่อีกที่นึง แล้วก็มีโรงสี เด็กก็จะไปช่วยที่โรงสีตอนนี้ก็ไปสองคน เด็กที่พอจะช่วยดูแลงานตรง
นั้นได้ พืชก็จะมีแตงกวาและฟักทองมาก ปกติที่นี่จะมีฟักทองมากแต่ตอนนี้มันหมดรุ่นพอดี ใช้เอง
ด้วยและขายด้วย”
การพึ่งพาตัวเองโดยไม่รบกวนระบบของสังคมภายนอกจึงทำให้บ้านทอฝันมักจะถูกมอง
ในมุมมองของเรื่องความแปลกอยู่เสมอ
“เขามองว่าที่นี่แปลก เหมือนกับมองว่าบ้านทอฝันทำไมอยู่ได้ คนเขาจะเริ่มสนใจเขาเอา
เงินมาจากไหน ส่วนใหญ่คนจะมองว่าเรารับเงินบริจาค แต่เราไม่รับบริจาค เราทำผ้ามัดย้อมจากสี
ธรรมชาติกับอิฐดินซีเมนต์ดูแลไม่น่าเชื่อ เขาค่อนข้างเชื่อเรายากแต่ว่าก็มีอยู่บางกลุ่มที่เราดึงเขา
มาทำงานด้วย อยากมัดย้อมเราก็ไม่ได้ทำเองทั้งหมดเราส่งให้ชาวบ้านทอ พอทอเสร็จแล้วเอามา
มัดย้อมที่นี่ เราดึงเอาเยาวชนจากข้างนอกเข้ามาทำงานที่นี่ พอย้อมเสร็จเรื่องการรีดเราไม่มีไฟฟ้า
ใช้ที่นี่เราก็ส่งรีดแล้วเราก็ส่งชาวบ้านต่อเป็นการกระจายงานและให้ชาวบ้านเข้าใจมากขึ้นในเรื่อง
ของผลประโชน์ที่เขาคิดว่าเราใช้พวกเขาเป็นเครื่องมือ ชาวบ้านเขาก็ไม่ค่อยมองเราตรงจุดนั้นแล้ว
ตอนแรกเขาก็แปลกๆ พอเราปฏิบัติจริง ไม่ใช่ฝันอยู่บนฟ้า คือนานๆไปเขาก็จะรู้ว่าทำอย่างไร ทำ
อะไรอยู่ หลังๆก็เริ่มเข้าใจ เสื้อผ้าส่วนใหญ่ที่เราทำก็จะส่งออกไปขายที่ประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่ทำ
ส่งญี่ปุ่น
มันจะมีช่วงเดือนมกราคม เราจะมีงานวันเด็ก จะมีเด็กในหลายๆหมู่บ้านอย่างห้วยกบ
ห้วยมาลัย ในตัวของสังขระ แล้วก็มอญ มันจะมีเด็กๆร่วมพันกว่าคนมาทำกิจกรรมที่นี่ ส่วนใหญ่
น้องๆนักศึกษาจะมาทำกิจกรรมกันด้วย เฉพาะสต๊าฟก็มีร้อยกว่าคนซึ่งจะมาอาทิตย์ที่สองของ
เดือนมกราคม เราจะจัดทุกๆปี บางปีจะมีชาวญี่ปุ่นมาร่วมด้วย บางที่ก็ถือโอกาสตรงนี้ในการ
แลกเปลี่ยน การจัดงานวันเด็กแบบนี้ใช่ว่าเด็กจะได้อย่างเดียว นักศึกษาที่เข้ามาก็จะได้อะไร
กลับไปด้วย อย่างเช่นวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ถือโอกาสเป็นการแลกเปลี่ยนกันไปในตัวแล้วเด็กๆเขาก็
ได้ความรู้ดี
จำนวนเด็กๆ33คนที่มาจากเลือดเนื้อคนละเชื้อสายนั้น ปัญหาการทะเลาะระหว่างกันจึง
คล้ายกับเป็นเรื่องธรรมดาของลิ้นกับฟันที่มักมีโอกาสกระทบกันอยู่เสมอ
“จริงๆเด็กบางที่เค้าก็มีอารมณ์ บางทีอยากเล่นอยากตะโกนส่วนใหญ่จะให้กระโดดน้ำๆ
เป็นชีวิตจิตใจ วันไหนเฮี้ยวมากๆจะให้กระโดดน้ำตอนเที่ยง ส่วนใหญ่จะลงน้ำให้เขาระบาย แต่ถ้า
ช่วงที่ไม่อยู่หรือไม่มีรถติดบ้านก็ไม่ให้ลง พยามให้ช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด ทำได้หรือไม่ได้ก็
ต้องลองทำก่อน แต่จะมีเด็กโตมีเอกลักษณ์ บูม แล้วก็จะมีเด็กโตอีกคนที่จะดูแลน้องเล็กได้ บางที่ก็
ให้จับคู่เป็น Buddy ดูเรื่องความสะอาด เรื่องชุดที่จะไปโรงเรียน ปิดเสาร์-อาทิตย์ วันจันทร์มีรึ
ยัง แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆถึงขนาดต้องลงโทษพวกเขา ถ้าทะเลาะกันมากๆก็ให้ยืนกอดกัน บางทีพี่ก็มีตี
แต่การตีมันก็ไม่ใช่การทำร้ายร่างกายหรือทารุณกรรม เราเรียกว่าตีเพื่อก่อ พี่ว่ากฎหมายเรื่องการตี
เป็นเรื่องรุนแรง ไม่ใช่ตีแล้วไม่รัก รักมากถึงตีถึงสอน ซึ่งเขาก็รักกันดี ถ้าน้องทำผิดหรือเล่นอะไรที่
มันอันตราย เล่นมีด เล่นเทียน เล่นไฟก็จะเตือนและก็จะสอนให้พี่ดูแลน้องด้วย จะบอกว่าแม่ดูแล
น้องไม่ไหวเพราะคนเยอะ”
อย่างคนนอกที่เข้ามาช่วยดูแลก็จะไม่ค่อยมีอยู่แล้วเพราะที่นี่มันไกล คนจะมาถึงก็คงท้อ
เมื่อก่อนเคยมีคนมาถามว่าอยากเลี้ยงอาหารเด็กขอจองคิวได้ไหม พี่ก็บอกเขาว่า
“ที่นี่ไม่ต้องจอง มาได้เลยค่ะ”
ส่วนเรื่องค่าอาหารบางครั้งก็ไม่พอเหมือนกัน บางทีอาหารไม่พอเราก็ดัดแปลงเอา คือปลา
ที่เลี้ยงอยู่ คือจริงๆแล้วอยู่ง่ายกินง่าย อย่างเรื่องที่เวลาเด็กๆออกไปข้างนอกแล้วเขาอยากได้อะไร
พี่ก็จะพยายามให้เขาเรียนรู้ด้วยตัวเองว่าเงินหายาก ทีนี้อยากได้อะไรจะให้ทำงาน ถ้าประเคนให้
อย่างเดียวเขาจะไม่รักษาของ เด็กที่นี่เล่นกีต้าร์เก่ง เพราะช่วงแรกๆจะมีนักศึกษามาออกค่ายเด็ก
เขาเห็นเขาอยากจะเล่นบ้าง ก็เล่นจนเป็นเลยซื้อกีตาร์ให้เขา6-7ตัว จะเป็นเด็กโตที่พอจะเล่นได้
แต่ก็อยู่ได้ไม่เกิน 5 เดือนเริ่มพังไปทีละตัวๆ เหลือตัวสุดท้ายไม่รู้จะทำยังไง ทีนี้กีต้าร์มันแตกใช้
ไม่ได้ก็เลยต้องเผาทิ้ง พี่ก็ให้พวกเด็กๆมารวมกันตรงที่ๆเผากีตาร์ตัวนั้นนะ เป็นการไว้อาลัยให้กับ
เพื่อนของเขาที่จากไป เขาก็จะเริ่มผูกพันกับมันไปในตัวแล้วปัญหาไม่รักษาของก็จะค่อยๆทุเลา
ไปเอง
การอยู่แบบครอบครัวใหญ่ๆอย่างนี้ลูกๆของพี่นาทกับพี่ยุจึงอยู่ร่วมกันโดยปราศจากการ
จดทะเบียนเป็นลูกบุญธรรม ซึ่งก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่โตอะไรมากนัก เพียงแต่ตอนแรกที่เข้ามาพี่ยุจะ
ทำประวัติไว้ว่าเขามายังไง ใครส่งมา มีปัญหาอะไรเพราะว่าจะได้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการดูแล
บางที่เขาส่งมาพี่ยุไม่รู้พื้นเพ ก็จะดูแลเขายาก ถ้ารู้พื้นเพก็จะได้ดูแลเขาได้ง่ายขึ้น ตอนนี้พี่ยุก็กำลัง
ดูเรื่องจดทะเบียนอยู่ ท่ามกลางเสียงเม็ดฝนที่หล่นกระทบหลังคา พี่ยุหยุดพูดไปพักหนึ่งใหญ่ๆแล้ว
บอกกับเราว่า
“คือเราไม่รู้ว่าเราจะคุ้มครองตัวเองได้ขนาดไหน พี่ไม่เคยคาดหวังอะไรในตัวเขามากไป
กว่าการที่เขาโตขึ้นไปเป็นคนดีในสังคม อย่างสังคมอีกด้านหนึ่งที่ปิดกั้นโอกาสของเด็กๆเหล่านี้
บางทีพี่ก็อยากให้เขาเข้าใจเด็กมากกว่าที่เป็นอยู่ ถ้าเด็กอยากทำอะไรอยากให้ลองก่อน อย่าพึ่ง
บอกว่า อย่าทำ อยากให้ลองก่อนถ้าไม่ได้เดี๋ยวค่อยว่ากันอีกทีก็ไม่เสียหาย เหมือนอย่างที่พี่กับพี่
นาททำอยู่ทุกวันนี้เราสองคนก็จะช่วยเหลือต่อไปเพราะเราเดินมาทางนี้แล้วจะย้อนกลับหรืออยู่กับ
ที่คงเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเกิดวันหนึ่ง บ้านทอฝันปราศจากพี่ทั้งสองคนก็ยังจะมีเด็กโตที่เราเทรนให้
เขามารับหน้าที่ในการดูแลน้องๆของพวกเขาอยู่เป็นตัวแทน เพราะพี่สองคนเชื่อมั่นอยู่เสมอว่า เด็ก
ที่ใครๆเขามองกันว่าเป็นส่วนเกินของสังคมหรือลูกๆของพี่เหล่านี้ในบ้านทอฝัน เมื่อก้าวออกไปจาก
บ้านทอฝันแล้ว พวกเขาจะต้องเติบโตขึ้นไปเป็นคนดีของสังคมแน่นอน…
ท่ามกลางความเหน็บหนาวของสายหมอกในหุบเขาอ.สังขละบุรี อาจจะสามารถ
บรรเทาได้ด้วยเสื้อกันหนาว แต่ความเหน็บหนาวที่เกิดจากการขาดความรัก ความเข้าใจ
และการถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังนั้น ยากที่จะหาเสื้อผ้าชนิดไหนมาบรรเทาให้หายได้
ความฝันของเด็กๆที่ถูกสังคมทอดทิ้ง ชายหนุ่มและหญิงสาวคู่หนึ่งได้สานทอมันขึ้นมา
อย่างเงียบๆบนรอยยิ้มเขาเพียงสองคนที่สลับกับเสียงหัวเราะของเด็กๆต่อไป ภายใต้
ชายคาของบ้านที่มีชื่อสั้นๆว่า”บ้านทอฝัน”ไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไรที่สังคมของบ้านเราจะ
โอบกอดเด็กๆเหล่านี้ได้อย่างเข้าใจ…